วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Q&A for HRD จากคุณ Patta Hinata

คำถามจากคุณ Patta Hinata

Q: เป็นนางพยาบาล (นางฟ้า) อย่างไรจึงไม่ป่วยเสียเอง

Answer: หลายๆคน มีอาชีพเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ที่ต้องนอนดึก และทำงานหนักอย่างต่อเนื่องในแบบที่เรียกว่า "ตรากตรำ" นั่นแหละ ปรากฏว่าพยาบาลส่วนใหญ่เท่าที่พบมาจากประสบการณ์เป็นวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตร OD และ ESB ให้กับโรงพยาบาลประจำอำเภอและโรงพยาบาลประจำจังหวัดเกือบทั่วประเทศของเรานั้น มักจะมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว ทั้งโรคร้ายและอาการป่วยไข้ที่น่ารำคาญ เหมือนอย่างที่มีคำถามเข้ามาในห้องเรียนนี้นั่นแหละ มันจึงทำให้หลายคนสงสัยว่าเหตุใดนางฟ้าส่วนใหญ่ ที่สร้างบุญกุศลด้วยการช่วยชีวิตคนไข้ไว้ตั้งมากมาย แล้วใยตนยังต้องมาเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายๆกับเขาเสียเองทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำไมทำดีแล้วยังต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคร้ายๆเหล่านี้ด้วย ทำไมโชคไม่หนุน บุญไม่ช่วยพวกเธอบ้าง
นักเรียนที่มีอาชีพพยาบาลทั้งหลาย....
บางคำถามของเธอดูเหมือนจะจริงอย่างที่ว่า "ทำไมทำความดีแล้วชีวิตยังจะมีปัญหาอยู่อีกเล่า...."นักเรียนที่ปัจจุบันมีอาชีพทำงานอยู่ในโรงพยาบาลทุกคน ไม่ว่าเธอจะเป็นนายแพทย์ เป็นนางพยาบาล เป็นเจ้าหน้าที่ทุกคนทุกระดับไปจนถึงแม่บ้าน คนงาน คนขับรถ คนสวน และยามนั้น พวกเธอจักต้องรู้เอาไว้ว่าพวกเธอเป็นคนพิเศษมีหน้าที่พิเศษแตกต่างจากมนุษย์ในกลุ่มอื่น โดยที่ดวงจิตวิญญาณตัวตนแก่นแท้ของพวกเธอนั้น ได้ขันอาสาลงมาเกิดเป็นมนุษย์จากดินแดนสวรรค์มายาในชั้นของเทพ เทวดา และพรหมด้วยกันทุกคน เราจึงเรียกขานมนุษย์ที่ทำหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วโลกว่า "นางฟ้า" ในขณะดำเนินการฝึกอบรมมาโดยตลอด นี่ก็ปาเข้าไปจะสิบปีเศษแล้ว เราก็ยังจะขอเรียกพวกเธอว่านางฟ้าอยู่ต่อไป สาเหตุที่พวกเธอได้รับอนุญาตตามที่ขันอาสา เพื่อให้จิตวิญญาณลงมาทำหน้าที่ช่วยชุบชูชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้อยู่รอดปลอดภัยในบทบาทของแพทย์พยาบาลและผู้ช่วยทั้งหลายในสถานพยาบาลนั้น มีดังนี้
1.ให้ลงมาช่วยเหลือมารดาที่คลอดบุตร เพื่อให้ทั้งมารดาและบุตรมีชีวิตรอดปลอดภัย เพราะคนทั่วไปไม่สามารถจัดการดูแลความปลอดภัยด้วยตนเองได้
2.ให้ลงมาช่วยชีวิตคนเจ็บปวดป่วยไข้ ในรายที่ประมาทต่อสุขภาพ และประมาทต่อการมีชีวิตอยู่อย่างไร้โรคาพยาธิ รวมทั้งในรายที่เกิดภัยร้ายจากอุบัติเหตุ เป็นต้น ในที่นี้เราจะรวมเรียกว่า ช่วยเหลือคนป่วยทางร่างกาย โดยเน้นที่การป้องกัน และการบำบัดรักษา เพื่อให้รอดตาย หายเจ็บ หายปวด หายป่วย หายไข้ หายไปจากโรคนั้นๆอย่างสิ้นเชิง
3.ให้ลงมาช่วยเหลือคนที่มีอาการป่วยทางจิตใจและประสาท เฉพาะกรณีที่มิได้เกิดจากกรณีของกฎแห่งกรรม ที่จะต้องเรียนรู้และถูกทดสอบ ตามที่จิตวิญญาณของคนๆนั้นเรียกร้องต้องการ
บทบาทหน้าที่หลักทางจิตวิญญาณของแพทย์พยาบาลและบุคลากรในสถานพยาบาลต่างๆทั่วโลก ทั้ง 3 ประการดังกล่าวนี้ หากกล่าวโดยรวมแล้ว จะเน้นผลสัมฤทธิ์เฉพาะมนุษย์รายที่มีความเหมาะสมที่จะรอดตาย ที่จะหายป่วยได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าผู้ช่วยเหลือจักต้องมีเครื่องมือทางจิตวิญญาณที่แต่ละคนถือติดตัวมาด้วย และอำนาจทางโลกด้านกายภาพมากพอตัว จึงจะสามารถทำหน้าที่ของพวกเธอได้อย่างดีเยี่ยม
พลังอำนาจของพวกเธอประกอบด้วย
1.พลังอำนาจทางจิตวิญญาณ: เป็นพลังอำนาจที่จิตวิญญาณแก่นแท้ของเธอต่างถือติดตัวกันมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อใช้ทำหน้าที่อันสำคัญนี้ นั่นคือ "ความรักบริสุทธิ์" อันประกอบด้วย.......
1.1 ความเต็มใจและยินดีที่จะช่วยเหลือ
1.2 ความมีจิตใจเมตตาสงสารที่ได้เห็นความทุกข์ทรมานของเพื่อนมนุษย์ที่เจ็บปวดป่วยไข้ แล้วช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องการความช่วยเหลือ
1.3 ความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะฉุดช่วยผู้มีอาการป่วยทางร่างกายและจิตใจให้หายและมีชีวิตรอดปลอดภัย
1.4 ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ในการตรวจวิเคราะห์อาการป่วยไข้ต่างๆได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วย "จิตสัมผัส" ผ่านกายสัมผัส
1.5 ความสามารถในการถ่ายทอดพลังทางจิตวิญญาณให้แก่คนไข้ของพวกเธอ เพราะรายที่เจ็บปวดป่วยไข้ซึ่งต้องการความช่วยเหลือนั้น ผู้คนเหล่านี้จะมีความอ่อนแอในพลังทางจิตวิญาณ เสมือนแบ็ตเตอรี่ที่มีพลังไฟอ่อนๆที่ต้องการชาร์ทใหม่เพื่อให้พลังไฟเพิ่มขึ้นด้วย จึงจะช่วยให้การบำบัดรักษาเยียวยาได้ผลเร็วขึ้น
2.พลังอำนาจทางจิตใจ:
เป็นพลังอำนาจสำคัญที่ผู้ช่วยเหลือจักต้องสั่นสะเทือนผ่านจิตมนุษย์ของตนเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงพลังอำนาจทางจิตวิญญาณดังได้กล่าวเป็นสังเขปไว้ในพลังอำนาจประการที่ 1.นั้นได้ อันเปรียบได้กับ "กุญแจประตู" ที่พวกเธอจะใช้ไขเพื่อเปิดประตูสู่มิติของจิตวิญญาณของเธอเองโดยแท้
กุญแจสำคัญมีด้วยกัน 3 ดอก
1.ดอกที่หนึ่ง คือ ความเชื่อมั่นในตนเองว่า เธอสามารถช่วยเหลือคนไข้ของเธอได้อย่างแน่นอน ความเชื่อมั่นเป็นพลังอำนาจเบื้องต้นของจิตหยาบ ที่จะยกระดับแรงสั่นสะเทือนด้านบวกให้สูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเธอจะต้องกระทำผ่านคุณสมบัติต่างๆดังนี้
1.1 ความเชื่อมั่นในพลังทางจิตวิญญาณของตนเองว่า สามารถช่วยเหลือคนไข้ของเธอได้อย่างแน่นอนโดยไม่มีความลังเล สงสัยใดๆทั้งสิ้น
1.2 ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ว่า มีมากพอที่จะช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นทุกข์จากความเจ็บป่วยทางกายและใจนั้นได้อย่างแน่นอน
1.3 ความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่ได้จากการฝึกฝนของตน ที่พร้อมจะนำมันออกมาใช้อย่างไม่ลังเลและถูกต้อง
2.ดอกที่สอง คือ ความมุ่งมั่นที่จะนำเอากุญแจดอกที่หนึ่งที่ตนมีอยู่ออกมาใช้ เพื่อจะช่วยเหลือคนไข้ของพวกเธอให้ประสบผลสำเร็จให้จงได้ เพื่อให้พวกเขาหายวันหายไว เท่าที่จะสามารถช่วยพวกเขาได้
ความมุ่งมั่นทางจิตใจของเธอ เมื่อสามารถสั่นสะเทือนมันขึ้นมาได้นั้น มันจะช่วยยกระดับแรงสั่นสะเทือนด้านบวกของจิตหยาบของเธอให้สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว ถ้าเธอสามารถเข้าถึงมันได้เธอจะพบว่า
2.1 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภาระใดๆเลย
2.2 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆเลย เช่น
<ไม่สนใจว่าช่วยพวกเขาแล้วตัวเธอจะได้รับประโยชน์ตอบแทนอะไรบ้าง
<ไม่คิดแบ่งแยกว่าคนไข้ของเธอรายนี้มีประวัติความเป็นมาว่า ยากดี มีจน เป็นคนดี หรือคนร้าย และเป็นญาติพี่น้องของเธอหรือไม่
<ไม่คิดถึงความลำบากเหนื่อยยากของตนเองในขณะให้การช่วยเหลือพวกเขาอยู่อย่างไม่ท้อแท้และไม่ท้อถอย แม้จะต้องพบเจออุปสรรคมากน้อยก็ตาม
2.3 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาอย่างทุมเท กล่าวคือให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เต็มเวลา และเต็มใจสุดๆ เพียงเพื่อจะช่วยพวกเขาให้รอดตายหรือหายไปจากโรคภัยนั้นๆให้จงได้เท่านั้น โดยเน้นที่ผลสำเร็จในการช่วยเหลือพวกเขาเป็นสำคัญ ไม่เน้นที่ผลประโยชน์ตอบแทนที่เธอจะได้รับ
3.ดอกที่สาม คือ ความศรัทธาในวิชาชีพ (หน้าที่) ของเธอเองว่า การที่เธอสามารถช่วยชีวิตให้แก่ผู้คนทั้งหลายได้ หรือบรรเทาทุกข์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในโลกนี้เขาทำไม่ได้ มันคือความเป็นคนพิเศษของตนเองอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง
หากเธอเข้าถึงมันได้ ตัวชี้วัดความศรัทธาดังกล่าวนี้มันจะแสดงออกมาผ่านบทบาทของผู้ช่วยเหลือที่คนไข้ผู้ได้รับการช่วยเหลือจะสามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ
3.1 เธอจะมีความสุขในการทำหน้าที่ของเธอ ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มเสมอ โดยเธอจะมีเสน่ห์ น่ารัก ใจดี มีปากที่ไพเราะ ที่คนไข้ทุกรายรวมทั้งเพื่อนร่วมงานของเธอ เมื่อได้สัมผัสแล้วก็จะมีความสุขตามเธอไปด้วย เสมือนว่าเธอเป็นดั่ง "นางฟ้า" ของประดาคนไข้ทั้งหลายมิใช่ "ซาตาน" นั่นเอง
3.2 เธอจะสนุกสนานกับการทำหน้าที่ของเธอ ด้วยการแสดงออกผ่านความกระตือรือร้น ความขยันขันแข็ง และความคล่องแคล่วปราดเปรียว โดยจะมีแต่คำว่า "เดี๋ยวนี้" ไม่มีคำว่า "เดี๋ยวก่อน" มันจะทำให้บทบาทการช่วยเหลือคนไข้ของเธอและเพื่อนร่วมงาน เป็นดั่งความขยันของฝูงผึ้งงาน หรือมดปลวก ที่พวกมันจะทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่กินแรงเพื่อน ไม่เชือนแชในหน้าที่ ไม่ขี้เกียจซังกะตาย และไม่สนใจเวลา คนไข้มาตอนไหนเธอก็พร้อมให้ความช่วยเหลือเสมอ เป็นต้น
3.3 เธอจะรักตนเองเพราะเธอภาคภูมิใจในตนเองที่ได้รับโอกาสให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ เธอจึงเน้นที่การมี "จิตใส ใจสวย ร่ำรวยรอยยิ้ม" ภายใต้เสื้ออาภรณ์หรือยูนิฟอร์มที่ดีไซน์ไว้ให้เป็นสัญลักษณ์ของผู้มาจากฟ้าสูง ที่เป็นชุดปกติสีขาวและสีฟ้า โดยเธอจะสำรวมระวังตนมิให้เสื่อมเกียรติ เมื่อเธอจะแสดงออกหรือปฏิบัติต่อคนไข้ของเธอทั้งกาย วาจา และจิตใจ เธอจะต้องสำรวมมันไว้ให้ดูงามเสมอ
3.4 เธอจะรักคนไข้ทุกคนโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะเลย เพราะเธอมีศรัทธาต่อพวกเขา ในฐานะที่พวกเขาคือผู้ที่มาช่วยให้เธอสามารถทำหน้าที่นางฟ้าที่ขันอาสาลงมากระทำได้นั่นเอง
เพราะถ้าสถานพยาบาลของเธอไม่มีผู้ป่วยหรือคนไข้เข้ามาพึ่งพา เธอก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ของเธอได้ และแน่นอนว่าพวกเขาต้องศรัทธาพวกเธอด้วย มิเช่นนั้นแล้วพวกเขาย่อมไม่มาพึ่งพาความช่วยเหลือจากพวกเธอแน่นอน
การแสดงออกว่าเธอรักคนไข้ของเธอ คงไม่ต่างไปจากเธอรักสิ่งของหรือว่ารักใครๆในชีวิตเธอนั่นแหละ เช่น
<แสดงความห่วงใย
<แสดงความมีน้ำใจเอื้ออาทร
<เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อพวกเขาได้เสมอ
<อดทน อดกลั้น และให้อภัย ในความไม่น่ารักของพวกเขาที่กระทำต่อตัวเธอได้เสมอโดยไม่ถือสา ไม่มีอัตตา เพราะเธอเห็นใจในความทุกข์ของพวกเขาที่อาจทำให้เขาสูญเสียสมดุลทางจิตใจ จนควบคุมเอาไว้ไม่ได้ในบางเวลา พวกเขาเหล่านั้นจึงมีโอกาสกระทำผิดบาปต่อตัวเธอได้บ้างโดยขาดยั้งคิดหรือขาดสติ
3.5 เธอจะรักสถานพยาบาลอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เธอปฏิบัติงานอยู่นี้ยิ่งกว่า "บ้านหลังที่สอง" ของเธอเอง เพราะมันเป็นสถานที่เดียวในชีวิตเธอหากไม่นับครอบครัวของตัวเอง ที่เธอสามารถแสดงความศักดิ์สิทธิ์ในตนเองออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นสถานที่เดียวที่เธอแสดงบทบาทของนางฟ้าได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นสถานที่เดียวที่เป็นยิ่งกว่าวัดที่เธอไปบำเพ็ญกุศลด้วยการให้ได้ทุกวัน โดยมิพักต้องรอวันสำคัญทางศาสนาแต่อย่างใด
ดังนั้น ตื่นนอนตอนเช้าขึ้นมา เธอก็จะไม่บิดขี้เกียจหลายๆตลบ ก่อนที่จะจบด้วยการงัดแงะตนเองขึ้นมาจากเตียงนอนอย่างลำบาก พร้อมเอ่ยปากอย่างคุ้นชินด้วยคำครวญครางว่า
"เฮ้อ....กูต้องไปทำเวรอีกแล้วววว...."
เธอจะไม่มีคำเหล่านี้อยู่ในพจนานุกรมชีวิตเธอเลย คือ ไปทำเวร ขึ้นเวร ลงเวร แลกเวร ซื้อเวร ขายเวร และเงินเวร.... เพราะถ้าขืนใส่รหัสเหล่านี้ไว้ภายในจิตใจเธอทุกวันเวลาแล้ว มันจะทำให้บทบาทนางฟ้าที่น่ารักของพวกเธอหายไป จะเปลี่ยนเป็น "นางมาร หรือ ซาตาน" ของพวกเขาแทน และแน่นอนว่าพวกเธอยังจะได้รับนามใหม่จากพวกเขาอย่างไร้เกียรติลับหลังว่า "อีเวร" กับ "ไอ้เวร" เสียอีกด้วย
3.พลังอำนาจทางกายภาพ:
หมายถึง อำนาจที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือคนไข้ของเธอจากควายทั้งสิ้น 7 ตัว ดังต่อไปนี้
3.1 ความรอบรู้ในวิชาชีพพิเศษนี้
3.2 ความสามารถในการนำความรอบรู้มาใช้ช่วยเหลือคนไข้
3.3 ความเชี่ยวชาญหรือทักษะในการแสดงความสามารถนั้น
3.4 ความเชื่อมั่นในควายสามตัวแรกของตนเองดังกล่าวแล้ว
3.5 ความเต็มใจให้การช่วยเหลืออย่างเต็มพลัง ด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพอย่างแท้จริง
3.6 ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ในการวิเคราะห์โรคภัยนั้นและการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการช่วยเหลือคนไข้นั้นได้อย่างถูกต้อง
3.7 ความรักอันบริสุทธิ์ คือ รักเพื่อให้ มิใช่รักเพื่อเอา หรือรักแบบ Love to Love นั่นเอง

คราวนี้กับคำถามของเธอ ที่ถามเราว่าเหตุใดเพื่อนๆเธอที่มีอาชีพเดียวกันนี้ เสมือนดั่งนางฟ้า มีพลังอำนาจพิเศษแห่งเมตตาที่มาทำหน้าที่ฉุดช่วยชีวิตคนอื่นๆ แล้วใยตนเองจะต้องสะอื้นกับการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแล้วตายเสียเองกันด้วยเล่า
คำตอบนี้ไม่ยากเลย...หากเธออ่านที่เราสื่อสอนมาตั้งแต่บรรทัดแรก เธอจะพบว่า การทำดีแล้วไม่ได้ดีตามกฎโลกของพวกเธอน่ะ มันเกิดจากความบกพร่องเหลวไหลของพวกเธอเองไงล่ะ เมื่อบกพร่องแล้วเธอก็ไม่สามารถเข้าถึงพลังอำนาจทั้งสามได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะพลังอำนาจทางจิตวิญญาณนั้น เธอจะเข้าถึงได้มันจะต้องกระทำผ่านกุญแจทั้งสามดอกเท่านั้น

1.ถ้าในชีวิตประจำวัน เธอยังแสดงบทบาทนางฟ้าของคนไข้ของเธอยังไม่ได้ เธอยังถูกตีตราว่า "อีเวร-ไอ้เวร" ของพวกเขาอยู่
2.ถ้าในชั่วโมงการทำงาน เธอยังทำงานเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน แทนการทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จในการช่วยให้คนไข้หายจากโรค ช่วยให้พ้นทุกข์โดยมีแต่สุขสมหวังอยู่
3.ถ้าเธอทำงานของเธอด้วยความเบื่อหน่าย ทำไปวันๆ ทำไปตามอารมณ์ ฝืนใจทำ หรือทำไปเหมือนคนทำงานเลี้ยงชีพรายวัน (จับกัง) ซึ่งไม่มีความศรัทธาใดๆให้ตนเอง สถานที่ทำงาน วิชาชีพพิเศษ เพื่อนนางฟ้าที่ร่วมงานกัน และประดาคนไข้ที่ดาหน้ากันมาให้เธอช่วยเหลือกันแน่นโรงพยาบาลทั้งวันคืน
โดยเมื่อเธอได้ยินเสียงหวอมา...ก็ยังจะอุทานว่า "มาอีกแล้ววว...." อันเป็นความคิดแบบนางมาร ซึ่งมันรังแต่จะทำให้เกิดอาการเซ็งจนเข้าถึงพลังทางจิตวิญญาณของตนเองไม่ได้แทนที่จะมีสำนึกว่า "ดีจังเลย...จะได้ช่วยชีวิตคนอีกรายหนึ่งแล้ววว" อันเป็นความคิดแบบนางฟ้าที่จะตื่นเต้นดีใจเพราะความมีจิตใจเมตตา ซึ่งมันจะยกระดับสภาวะจิตเธอจนเข้าถึงซึ่งการเป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาณของเธอเองได้แบบฉับพลัน จนเธอพร้อมจะช่วยเหลือทันทีที่คนไข้มานอนอยู่เบื้องหน้าด้วยซ้ำไป โดยเมื่อเธอจะลุกจากเตียง จะออกจากบ้าน ขณะเดินทางไปทำงาน และขณะอยู่ในสถานที่ทำงานช่วยชีวิตคนนั้น เธอยังมีสำนึกเพียงแค่ว่า "ทำเวร" ซึ่งจิตวิญญาณของเธอมิได้เห็นด้วยเลย ตลอดวันทำงานของทุกๆวันเธอจึงพกพาความเซ็งและความอืดอาดติดตัวไว้ตลอดเวลา โดยเมื่อเธออยู่ในที่ทำงาน เธอยังมีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอยู่เนืองๆ และเธอยังมีปัญหากับคนไข้เสียเองเพราะความประมาท ขาดสติ ขาดความรักความเมตตา และการมีนิสัยที่บกพร่องส่วนตัวของเธออยู่

ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ มันจะทำให้เธอไม่สามารถทำงานด้วยจิตวิญญาณของเธอเองได้ เมื่อเข้าถึงไม่ได้ พลังอำนาจที่จะช่วยให้คนไข้หายไปจากโรคมันจึงค่อนข้างจะไร้พลัง การบำบัดรักษาช่วยเหลือจึงได้ผลช้า หรือไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

นอกจากนั้น พลังอำนาจทางวิญญาณของเธอเอง ที่เธอได้ถือติดตัวกันมาทุกคนเพื่อการคุ้มครองป้องกันตนเองนั้น ก็ไม่สามารถป้องปกตัวเธอเองได้เพราะมันนำออกมาใช้ไม่ได้เหมือนกัน เช่น ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคร้ายที่คนไข้พกพามาหาเธอรายวัน และความเสื่อมของกายหยาบอันเกิดจากการใช้งานเกินพลังทางกายจะทานไหว เพราะเธอเข้าถึงพลังทางจิตวิญญาณไม่ได้....เป็นต้น
แพทย์พยาบาลและผู้ทำหน้าที่ช่วยชีวิตคนอื่นๆ หากอยากปลอดภัยในการรักษาดูแลตนเอง ต้องปฏิบัติตนดังนี้
1.เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและมุมมองในอาชีพของตน เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของตนเสียใหม่ให้ถูกต้องตามที่กล่าวมา
2.เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อคนไข้ผู้ที่เธอจักต้องให้ความช่วยเหลือเสียโดยพลัน เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติต่อพวกเขาให้ถูกต้องคล้องจองกับหน้าที่ทางจิตวิญญาณ ที่พวกเธอต้องเป็นดั่งนางฟ้ามิใช่พญามารของพวกเขาเท่านั้น พวกเธอจะได้มีส่วนช่วยให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือ "พระยาบาล" มันจะได้ไม่กลายเป็น "โรงพระยามาร" หรือ "พระยามาร" เหมือนปัจจุบันอีกตลอดไป
3.จงเรียนรู้ที่จะทำงานด้วย "แรงบันดาลใจ" แทน "แรงจูงใจในผลประโยชน์ตอบแทนจากการทำงาน" เสียโดยพลัน

หากเธอทำได้ พลังอำนาจทางจิตวิญญาณของเธอจะช่วยปกป้องคุ้มครองตัวเธอเองให้ปลอดภัยจากโรคร้ายและอวัยวะร่างกายที่บกพร่อง เหมือนเธอใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกหรือสวมถุงมือล่วงหน้า ก่อนจะทำหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย เพื่ออะไร...ป้องกันตนเองไว้ใช่หรือไม่
นี่เธอเอาเครื่องป้องกันตนเองมาจากฟ้า ถือติดตัวมาแต่ไม่ได้ใช้ เพราะเธอยังใช้จิตมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา เพราะไร้สติกันอยู่มาก เมื่อเข้าถึงไม่ได้มันก็ช่วยอะไรตัวเองไม่ได้ ช่วยคนไข้ก็ไม่ค่อยจะได้ แม้ช่วยได้ก็เหนื่อยหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น....
โรงพยาบาลที่เชิญเราไปเป็นวิทยากรสอนพฤติกรรมผ่านจิตสำนึกของทุกคนในโรงพยาบาล ทั่วประเทศ เรามีแนวทางในการสอนด้วยกระบวนการไซโคโชว์ เพื่อกระตุ้นพลังทางจิตวิญญาณ ตามหลักการที่เราตอบคำถามของเธอที่ถามไว้นี้ทั้งสิ้น....


ไม่จำเพาะผู้มีหน้าที่ทางจิตวิญญาณด้านการแพทย์และพยาบาลหรอก แม้เธอจะมีหน้าที่อื่นอาชีพอื่นๆหรือจักทำสิ่งใดในชีวิตให้มันยิ่งใหญ่และสนุกแล้ว จงเลือกทำด้วยจิตวิญญาณแทนการทำด้วยความโลภสิ เธอจะพบว่า งานของเธอจะได้ผลและทุกคนรวมทั้งเธอเองจะมีความสุขมากขึ้นอีกหลายเท่า

Q&A for HRD จากคุณ Phatsanan Tomongkol

คำถามจากคุณ Phatsanan Tomongkol
Q: เราควรมองโลกในด้านบวกหรือมองโลกตามความเป็นจริงดีคะ" รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายคะ ขอบคุณคะ

Answer:
ตัวอย่างการมองโลกด้านบวก มีดังนี้ :
การคิดดีต่อผู้อื่น
การไม่มองผู้อื่นในแง่ร้าย
การไม่คอยแต่จะจ้องจับผิดผู้อื่น เพราะความหวาดระแวง
การไม่คาดหมายใดๆต่อตัวเองไปในทางต่ำ เช่น ซวยแน่ๆ/แย่แล้วเรา ฯลฯ

ถ้าเรามองคนอื่นๆในลักษณะดังตัวอย่างทั้ง 4 แบบนั้นแล้วมันจะยังผลให้จิตใจเรามีความสุขสงบ หรือมีจิตใจที่ดีงามจิตสงบหรือจิตที่ดีงาม จะสามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมทางอารมณ์รู้สึกและการนึกคิดของจิตกับสมองที่เป็นด้านดีหรืออด้านบวกต่อผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย

มนุษย์มีหน้าที่มองหาความจริงเท่านั้นไม่ว่าความจริงที่เราเห็น มันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีก็ตาม หากพบว่าที่เราเห็นมันเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่ดี ไม่เหมาะไม่ควร หน้าที่ของมนุษย์ก็คือ เราจะต้องใช้ปัญญาคิดบวกหรือคิดดีต่อทั้งคนทำไม่ดีกับเราและคิดบวกต่อพฤติกรรมไม่ดีที่เขาทำกับเราให้จงได้ การคิดบวกมันจึงยากอยู่ที่ตรงนี้เอง

Q&A for HRD จากคุณสมายย์ลี่

คำถามจากคุณสมายย์ลี่
Q: คำพูดของผู้ที่เราสนทนาด้วยนั้น ทุกคำพูดที่ออกมาแสดงถึงว่าคนๆนั้นเป็นอย่างไร ใช่หรือเปล่าคะ หลายครั้งที่เขาบอกว่าเขาคิดว่าเขาคิดเป็น คิดได้ แต่พอเขาพูดออกมามันกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น เหมือนกับว่าที่เค้าบอกว่าเขาเข้าใจ เขาคิดได้ แต่เราผู้เป็นผู้ฟังกลับได้รู้สึกว่าสิ่งที่เขาผู้นั้นบอกว่าเข้าใจนั้น ยังไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นการที่เราพูดอะไรออกไป แต่ละคำพูดที่พูดออกมาจะแสดงได้ว่าเรามีมหาสติหรือไม่ ถูกต้องหรือเปล่าคะ

Answer: คำถามที่หนึ่ง คำพูดของคนที่เราสนทนาด้วยน้ัน ทุกคำพูดของเขาแสดงถึงว่าคนๆนั้นเป็นอย่างไร ใช่หรือเปล่าคะ
คำถามที่สอง: การที่เราพูดอะไรออกไป แต่ละคำพูดนั้นมันจะแสดงได้ว่าเรามีมหาสติหรือไม่คะ?
ทุกคำพูดของแต่ละคน เมื่อเขาสนทนากับเรา มันจะสามารถบ่งชี้อะไรๆ เกี่ยวกับตัวเขาหลายประการ คือ

1.เขาคิดอย่างไร พอเรารู้ว่าเขาคิดอย่างไร เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าเขามีนิสัย-สันดานในการคิดและในการมองโลกแบบไหนอย่างไรบ้าง

2.เขามีอารมณ์รู้สึกอย่างไร ขณะที่เขากำลังพูดกับเรา นอกจากแก่นสารสาระ (Content) ในเรื่องที่พูดแล้วยังมีอีกสองอย่าง คือ "น้ำคำและน้ำเสียง" เมื่อเราได้ยินน้ำเสียง-ได้ฟังน้ำคำจากที่เขาพูดกับเราแล้ว มันก็จะทำให้เราสามารถรู้ได้ทันทีว่า ขณะนั้นเขากำลังเกิดอารมณ์รู้สึกต่อเรื่องที่พูด และหรือต่อตัวเราที่เป็นคู่ สนทนาของเขาอย่างไรบ้าง เช่น ถ้าพูดไม่เพราะ พูดไม่มีหางเสียงคือสั้นๆห้วนๆ พูดแบบเหมือนไม่เต็มใจพูด อย่างนี้ก็แสดงได้ว่าเขาเป็นลบต่อเราหรือต่อเรื่องที่เขากำลังพูด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างแน่นอน เป็นต้น

3.ต้องสังเกตกิริยาอาการภาษาท่าทางของเขา ขณะกำลังพูดกับเราด้วยว่า มันไปได้กันได้กับคำพูดของเขาในขณะนั้นหรือเปล่าคำถามที่สอง: มนุษย์ที่ปากพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอเอาเข้าจริงกลับไม่เป็นเช่นที่เขาพูดนั้นมีสามแบบ คือ 1.ขาดการรู้สติ คือ พูดปากพล่อยไปตามสันดาน ไม่ก็พูดไปตามอารมณ์รู้สึกในขณะนั้นๆ 2.ขาดการใช้สติ คือ ไม่ได้คิดก่อนพูด หรือพูดเรื่อยเปื่อย 3.หลงตัวเองว่าตัวเองรู้แล้ว ดีแล้ว เก่งแล้ว ทั้งๆที่ไม่ใช่ หรือทำเป็นอวดเก่ง อวดดีเพื่ออวดเรา เบ่งทับเรา หรือ สร้างปมเด่นให้ตัวเขาเองด้วยการกลบปมด้อยไว้

Q: ถ้าการที่เขาพูดออกมาแต่ไม่สามารถเรียบเรียง หรือเลือกคำที่จะใช้ให้ถูกจังหวะและเวลา จะสรุปได้หรือไม่ว่าเขาผู้นั้นยังไม่เข้าใจในเรื่องที่เขากำลังพูดอย่างแท้จริงคะ

Answer:  จากคำถามของเธอนั้น ขอทำความเข้าใจกันก่อนดังนี้
1.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ แล้วไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดให้เธอฟังรู้เรื่อง-เข้าใจได้นั่นเป็นปัญหาหนึ่ง 

2.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ แล้วเลือกใช้คำพูดไม่เหมาะสม นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง 

3.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ ไม่ถูกจังหวะเวลา นี่ก็เป็นอีกประเด็นปัญหาหนึ่งการที่มนุษย์กล่าวอะไรหรือสิ่งใดกับใครก็ตาม ถ้าเขาไม่สามารถเรียบเรียงเรื่องราวให้เราฟังรู้เรื่อง และเข้าใจได้ มักมีสาเหตุดังนี้ คือ
3.1.ขาดความสามารถด้านการพูด เขาจะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะเสีย
3.2.ขณะกำลังพูด อาจตื่นเต้น ประหม่า กำลังกังวล หรือไม่มีสติ
3.3.ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้งในสิ่งที่ตนกำลังพูดนั้น
3.4.ขี้โม้-ขี้คุย-ไม่เน้นสาระที่ตัวพูดการที่มนุษย์สื่อสารกับใครแล้วเลือกใช้คำพูดไม่เหมาะสมอาจมีสาเหตุดังนี้
1.ไม่รู้กาละเทศะ
2.ปากพล่อย
3.ขาดสติ
4.ไม่เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาไทย
5.ไม่ให้เกียรติผู้ที่ตนสนทนาด้วยการที่มนุษย์หยิบเอาเรื่องใดสิ่งใดขึ้นมาพูดกับผู้อื่นโดยไม่ถูกจังหวะเวลานั้น มีสาเหตุดังนี้

5.1.เป็นคนขาดสติ
5.2.มีนิสัยใจคอคับแคบ ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง
5.3.ไม่แคร์ความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Q&A for HRD จากคุณนุ้ย น้อง

คำถามจากคุณนุ้ย น้อง

Q : มีเรื่องเรียนปรึกษาว่าเมื่อเราเป็นหัวหน้าและเป็นกันเองกับลูกน้องจนทำให้บางครั้งลูกน้องไม่เกรงใจ หนูจึงมีการตอบโต้ลูกน้องไปบ้าง คือให้ลูกน้องได้มีความยำเกรงบ้าง แต่ผลกลายกลับเป็นการสร้างเงื่อนไขลบหนักขึ้น จนไม่เป็นหนึ่งเดียว เพราะเค้าแปลเจตนาเราผิดเพี้ยนไปตามธรรมดาของคนเป็นหัวหน้าและลูกน้อง เพราะลูกน้องส่วนใหญ่จะไม่ชอบหัวหน้า หนูจะใช้หลักธรรมะข้อใดในการบริหารลูกน้องให้เค้ายำเกรงเราในขณะเดียวกันก็รักเรา รักให้ได้ ให้ให้เป็น ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นและใช้มหาสติในการดำเนินชีวิตซึ่งการไม่ตอบโต้ ไม่ต่อต้าน อาจทำให้เค้าไม่ยำเกรง คือไม่มีความเกรงใจเราอยากได้อะไรต้องได้ค่ะ กราบขอความเมตตาชี้แนะด้วยค่ะ

Answer:
1.ส่วนปัญหาของเธอ คือ สนิทกับลูกน้องมากแล้วไม่เกรงใจ จึงมีการ "ตอบโต้" ลูกน้องกลับไปบ้าง
จนกลายเป็นเงื่อนไขด้านลบหนักขึ้น เพราะเขาแปลเจตนาเธอผิดเพี้ยน เธอควรทำอย่างไร ใช้ธรรมะข้อไหน?
คำตอบก็คือ....
1.1 การจะทำให้ลูกน้องเกรงใจหรือเคารพยำเกรง ด้วยการ "ตอบโต้"
เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เพราะมันเป็นการสร้างเงื่อนไขโดยเจตนา
จะข่มเขาให้ยำเกรงนั่นเอง หากเธอทำแบบนั้นเท่ากับว่าก่อกรรมและเกี่ยวกรรมกับพวกเขาไปแล้ว
1.2 เธอไม่ลองคิดใหม่บ้างเหรอว่า มีวิธีอื่นมั้ยที่จะทำให้ลูกน้องเกรงใจ
จนไม่กล้าทำผิดกฎระเบียบ ไม่กล้าทำผิดกติกา ไม่กล้าทำผิดคำสั่ง ไม่กล้าผิดสัจจะ
1.3 ไม่มีหลักธรรมะอะไรที่จะช่วยเธอให้ปฏิบัติตามนั้นแล้วทำให้ลูกน้อง
เกรงอกเกรงใจเธออย่างชงัดหรอกนะ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านมีไว้สอนพระภิกษุ
ไม่ได้บัญญัติไว้สอนฆราวาสอย่างพวกท่านหรอก

2.ถ้าลูกน้องเหลวไหลเพราะไม่เกรงใจเธอจริงๆ (อย่าหลงผิดนะ เพราะการที่ลูกน้องทำตัวเหลวไหลนั้น
อาจบางทีเกิดจากเหตุผลอื่นด้วยมากมาย เธอต้องหาสาเหตุแท้จริงด้วย อย่ามโนเอาง่ายๆเด็ดขาด)
เธออาจใช้วิธี "ทำที่ตัวเธอเองสิ" อย่าไปคิด "ทำที่ลูกน้อง...."
2.1 ดีกับคนที่เหลวไหลให้มากกว่าเดิม เผื่อที่ผ่านมาเธออาจทำดีกับเขาน้อยไป
2.2 ใกล้ชิดกับลูกน้องที่เหลวไหลให้มากขึ้น เผื่อเขาจะได้ไม่มีโอกาสเหลวไหล
2.3 วางตัวเสียใหม่ ให้จริงจังในงาน จริงใจกับพวกเขา
2.4 ถ้าจะตำหนิลูกน้อง อย่าคิดใช้วิธีตอบโต้ด้วยอารมณ์ เอาปริญญาโมเดล 6 ถูกมาใช้สิ

3.เธอต้องจำไว้ว่า ที่อ้างลูกน้องส่วนใหญ่จะไม่ชอบหัวหน้านั้น
เธออย่าเพิ่งเชื่อผิดๆนะ ลูกน้องส่วนใหญ่ต่างหากที่รักหัวหน้า
ส่วนน้อยนี่แหละที่ไม่ค่อยชอบ เพราะหัวหน้าเป็นผู้นำในดวงใจ
ของลูกน้องไม่ได้...
เราจัดฝึกอบรมหลักสูตรนี้ให้กับองค์กรต่างๆมาโดยตลอด


พบว่าส่วนใหญ่หัวหน้าบกพร่องเองเสียมากกว่า  

Q&A for HRD จากคุณมอ แมว

คำถามจากคุณมอแมว
Q: ตอนนี้หนูใกล้จะจบมหาลัยแล้วค่ะ แต่ประสบปัญหาค่ะ คือยังไม่รู้เลยว่าตนเองชอบอะไร รักอาชีพไหน ถนัดทางด้านไหน ควรจะประกอบอาชีพอะไร เลยไม่รู้ว่าจะวางแผนชีวิตในอนาคตตัวเองอย่างไรดี หนูคิดว่าคนบนโลกนี้จำนวนมากก็ยังไม่สามารถค้นพบตัวเอง ว่าชอบอะไร เหมาะกับอาชีพไหน บางครั้งหนูก็อิจฉาคนบางคนที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร รักอาชีพไหน เพราะการที่คนเราได้ทำในสิ่งที่ชอบสิ่งที่รัก ทำอะไรด้วยใจ หนูว่ามันคงจะก้าวหน้ามากกว่าคนที่ทำเพราะหวังสิ่งตอบแทน เช่น ชื่อเสียง เงินทอง หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีความสุขที่เกิดจากการที่ทำงานที่ตนเองชอบ
สรุปคำถามคือ อาจารย์พอจะมีวิธีการ แนวทางอะไรที่จะทำให้คนเราค้นพบตัวเองในด้านหน้าที่การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองบ้างคะ หลักในการวางแผนชีวิตในอนาคตที่ดีนั้นมีอะไรบ้างคะ
 Answer: การหาพรสวรรค์ในตนเองทำได้อย่างไร
1. วิธีที่จะค้นพบพรสวรรค์ของตนเองได้ ระหว่างวัยเรียน
1.1 ในวันว่าง-ปิดภาคเรียน ให้ใช้เวลาว่างนั้นหางานพิเศษทำ งานอะไรก็ได้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
1.2 เปลี่ยนงานพิเศษทำไปเรื่อยๆ กว่าจะจบสี่ปี เราก็มีประสบการณ์เยอะแล้ว จากนั้นก็ถามตัวเองว่า งานอะไรที่เราไปฝึกทำมัน หรือลองทำเป็นพิเศษนั้น เราทำได้ค่อนข้างดี และรู้สึกว่าสนุกไปกับมันบ้าง คุณจะค้นพบได้ด้วยตนเอง
1.3 จำไว้ว่าไม่มีทางที่มนุษย์คนไหนจะค้นพบพรสวรรค์ตนเองได้ หากนั่งเฉยๆ เรียนไปเรื่อยๆ คิดค้นหาหรือว่าคาดหวังไปเรื่อยๆ เพราะเราจะค้นพบมันได้ด้วยประสบการณ์การเรียนรู้มันด้วยตัวเราเองเท่านั้น เช่น บางคนเรียนจบแพทย์แต่พบว่าตนเองเป็นนักการเมืองได้ดีกว่าและชอบมากกว่า บางคนจบวิศวะแต่หันมาเอาดีทางด้านการเป็นนักร้องหรือดาราก็มี อย่างเเบิร์ดธงชัย แม็คฯก็เรียนจบมาแรกๆก็ทำงานสายธนาคารแต่มาลองหัดร้องเพลงดู ก็พบว่าตนเองชอบมากกว่า และทำได้ดีกว่าจึงกลายมาเป็นซุปเปอร์เบิร์ด (ป้าเบิร์ด) จนบัดนี้ เป็นต้น
1.4 ถ้าคนพวกนี้ไม่ลอง ไม่ทำ นั่งเฉยๆ เขาไม่มีวันพบพรสวรรค์หรือสิ่งที่ตัวเองชอบหรอก ไม่มีใครคาดหวังหรอกว่าเรียนจบสาขาไหนแล้วจะสามารถทำงานในสาขานั้นได้อย่างรุ่งเรือง เพราะทุกสิ่งไม่แน่นอนครับ
2. หลักการวางแผนอนาคตที่ดี
2.1 ทำปัจจุบันนี้ที่ตนมีหน้าที่และมีโอกาสทำอยู่ให้ดีที่สุด ไม่มีคำว่าเบื่อ ไม่มีคำว่าท้อ ไม่มีคำว่าเซ็ง
2.2 ถ้าทำในข้อแรกได้สำเร็จ นั่นเท่ากับว่าคุณก็มีต้นทุนหลายสิ่งที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้ตั้งมากมาย ไม่ว่าคุณจะนำไปประกอบอาชีพอะไรก็ตาม เช่น ความเฉลียวฉลาดในการมองโลก ศักยภาพทางปัญญา ทักษะในการดำเนินชีวิตร่วมกันกับผู้อื่น ทักษะในการทำงานเป็นทีม ทักษะการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ความสามารถด้านการเรียนรู้ ทักษะการใช้ปัญญาของสมอง หรืออื่นๆ สิ่งเหล่านี้คุณสามารถเรียนรู้ได้ในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น นอกเหนือจากวิชาการหรือวิชาชีพที่คุณเรียนซึ่งคุณอาจไม่รักไม่ชอบมัน แต่คุณก็ต้องเรียนให้จบ สอบให้ผ่าน เพราะสังคมไทยเขายังต้องการใบปริญญาบัตรของคุณไงครับ
2.3 เราจะเหลวไหลไม่ใส่ใจเรียนให้จบสอบให้ผ่าน เพราะบอกตัวเองว่าเซ็งว่าไม่ชอบไม่ได้แล้ว เพราะมันหมายถึงการเสียเวลาไปสี่ปี จงเอาใบปริญญามาให้ได้ จบแล้วคุณจะเลือกไปทำอาชีพอะไร ถึงวันเวลานั้นคุณจะรู้เอง แต่ถ้าคุุณยิ่งทดลองงาน ฝึกงาน ทำงานพิเศษในช่วงวันหยุดหรือปิดภาคเรียนในทุกปีการศึกษามาแล้วด้วย มันก็จะยิ่งทำให้คุณมองเห็นช่องทางมากขึ้นได้เองแหละครับ
2.4 ต้องไม่เลือกงาน-ไม่เกี่ยงงานเมื่อเรียนจบแล้ว หากทำงานอะไรได้แล้วพบว่าไม่ชอบก็ค่อยๆเสาะหาใหม่จนกว่าจะเจอที่ตนชอบ แต่ไม่ควรเปลี่ยนงานบ่อยจนเคยตัว

2.5 ถ้าขยันในไม่ช้านานคุณก็จะพบงานที่เหมาะกับคุณแน่นอน เมื่อพบแล้วก็จงทำมันให้เต็มที่ สนุกกับมันให้ได้ ไม่เอาปัญหาอื่นมาเป็นเงื่อนไขให้คุณหมดสนุก เซ็ง หรือเบื่ออีก เช่น เพื่อนร่วมงานที่ในอนาคตคุณต้องเจอพวกเขาแน่ ซึ่งมันจะมีทั้งที่ดีและไม่ดีให้คุณได้เผชิญ

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตร: How to be a Good Leader ผู้นำในดวงใจ


หลักสูตรฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาพลังการขับเคลื่อนศักยภาพ
สำหรับผู้บริหาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด 
(มหาชน) รุ่นที่ 9:
.........................
ชื่อหลักสูตร:
How to be a Good Leader
ผู้นำในดวงใจ
วิทยากร:
อ.ปริญญา ตันสกุล
ผอ.สถาบัน HMDC
ชื่อกิจกรรมในหลักสูตร(ดังภาพ):
"หลากหลาย มิใช่สิ้นเชิง"
วันที่:
14-15 สิงหาคม 2558
สถานที่:
โรงแรม วินเซอร์ สุขุมวิท กรุงเทพ ฯ