วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

กระบวนการไซโคโชว์


ผมใช้กระบวนการ "ไซโคโชว์"
ซึ่งเป็น Know How ของผมเองที่คิดสร้างขึ้น
เพื่อใช้เป็นกลยุทธและกุศโลบายสำคัญ
ในการฝึกอบรมปฏิบัติการ
เพื่อการแก้ไขพฤติกรรมขยะ
พัฒนาทักษะพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ด้วยการสั่นสะเทือนที่จิตตปัญญา (จิตสำนึก)
ทั้งรายบุคคลและหมู่คณะ
ของบุคลากรในองค์กรชั้นนำต่างๆมากมาย
ทั้งระดับมันสมองจนถึงระดับปฏิบัติการ
กระบวนการนี้
สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ได้
ทุกแบบที่ใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
เช่น......
*พฤติกรรมเห็นแก่ตัว
*พฤติกรรมไม่รักองค์กร
*พฤติกรรมไม่เคารพไม่เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
*พฤติกรรมทุจริต ไม่ซื่อตรง
ฯลฯ
หลักสูตรระยะสั้น 2 วัน และ 3 วัน
ผมยินดีออกแบบหลักสูตรเฉพาะองค์กรท่าน
ที่ตรงกับความต้องการด้านพฤติกรรมหลักนั้นๆ
โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม
พฤติกรรมที่บกพร่องของพนักงานของท่าน
สามารถแก้ไขได้แน่นอน
ท่านสามารถพิสูจน์ได้หากให้โอกาสพวกเขา
เข้าสู่กระบวนการ "ไซโคโชว์"
*เราสร้างคนเก่ง
เราสร้างคนฉลาดทางปัญญา และอารมณ์
เราสร้างคนดี ที่ฉลาดทางสังคม
เราสร้างคนที่เพียบพร้อมเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อองค์กรทุกระดับที่ปรารถนา....
คนคุณภาพ
ทีมคุณภาพ
งานคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพ
องค์กรคุณภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Tel.081-6681478, 081-9349789


พฤติกรรมบกพร่องของพนักงาน จะแก้ไขที่ตัวพฤติกรรมนั้นโดยตรงไม่ได้

พฤติกรรมบกพร่องของพนักงาน
จะแก้ไขที่ตัวพฤติกรรมนั้นโดยตรงไม่ได้
****************************************
พนักงานของท่าน
ที่แสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์บางอย่างแล้ว
สร้างปัญหาให้เพื่อนร่วมงาน
สร้างปัญหาในกระบวนการทำงานเป็นทีม
สร้างปัญหาให้แก่ลูกค้า
สร้างปัญหาด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์และบริการ
สร้างปัญหาด้านภาพลักษณ์ขององค์กร
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาในหมวดนี้
เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา (Psychological Problems)
ที่ท่านจะใช้วิธีธรรมดาทั่วไปจัดการแก้ไขไม่ได้
เพราะพฤติกรรมมนุษย์ที่แสดงออกมาภายนอก
ล้วนถูกขับเคลื่อนออกมาจากพฤติกรรมภายใน
นั่นคือ กายกรรมและวจีกรรมนั้น
ล้วนเกิดจาก "มโนกรรม" 
อันหมายถึง เป็นผลจากจิตตปัญญาทั้งสิ้น
หรืออาจกล่าวว่า...
กายกรรมและวจีกรรม คือ มายาของจิต
ที่สั่นสะเทือนแล้วแสดงออกมาภายนอกโดยแท้
ดังนั้น...
ถ้าท่านมองพฤติกรรมปัญหาของพนักงานคนใดคนหนึ่ง
เหมือนมองเสื้อผ้าอาภรณ์ที่เขาสวมใส่
เมื่อเห็นว่าไม่สวยงาม ไม่เหมาะสม ไม่เข้าท่า
แล้วท่านจะบอกให้เขาถอดออก แก้ผ้าออก
เพื่อเปลี่ยนเป็นสวมเสื้อผ้าชุดใหม่
ในแบบที่ท่านผู้บริหารชอบใจกันง่ายๆย่อมไม่ได้
จิตตปัญญาเป็นนาย กายเป็นบ่าว
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้นั้นชอบแล้ว
หากจะเปลี่ยนต้องเปลี่ยนที่บ่อเกิดพฤติกรรมนั้น
นั่นคือ ท่านต้องเปลี่ยนที่ตัวขับเคลื่อนพฤติกรรม
ซึ่งเร้นอยู่ข้างในของพวกเขา นั่นคือ "จิตตปัญญา"
กระบวนการ "ไซโคโชว์"
เป็นการฝึกอบรมปฏิบัติการ
ที่เราดีไซน์ขึ้นมา.....
เพื่อจัดการกับพฤติกรรมปัญหาได้ทุกรูปแบบ
ด้วยการกระทำที่จิตตปัญญาของมนุษย์โดยตรง
ท้าทายการเรียนรู้ทุกนาที ไม่น่าเบื่อ
ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ไม่จำกัดวุฒิภาวะ
ได้ผล 100% 
(ต้องเป็นไปภายใต้เงื่อนไขที่เรากำหนดไว้)
หากท่านสนใจ
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Tel.081-6681478, 081-9349789

PSYCHO-SHOW ของ ปริญญา

งานแก้ไขพฤตินิสัยพนักงานขององค์กรที่บกพร่องนั้น
ท่านผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาจะใช้วิธีจัดการธรรมดา
อย่างที่เคยทำ แต่ไม่ได้ผลกันอยู่อีกทำไม
............................................................................
นี่เป็นตัวอย่างบางพฤติกรรม
บางพฤตินิสัยเหลวไหลบกพร่องของพนักงาน
ซึ่งองค์กรหรือทีมงานของท่านไม่ต้องการ
เพราะสร้างปัญหาในระบบทีมเวิร์กได้มากมาย
และท่านนักพัฒนาคนขององค์กรทั้งหลาย
เคยแก้ไขกันอยู่...แต่ก็ไม่ได้ผล...9 แบบ เช่น
1.พนักงานบางคนเห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว
2.พนักงานบางคนทำงานตามอารมณ์
3.พนักงานบางคนไม่กระตือรือร้นในการทำงาน
4.พนักงานบางคนเข้ากันกับคนอื่นไม่ได้
5.พนักงานบางคนทำตนเป็นหัวโจกในด้านลบ
6.พนักงานรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่เข้ากันไม่ได้
7.พนักงานบางคนทำตนไม่ซื่อสัตย์ต่อองค์กร
8.พนักงานบางคนมุ่งแต่จะอิจฉาตาร้อนผู้อื่น
9.พนักงานบางคนชอบยุแยงตะแคงรั่วให้ทีมแตกแยก
*วิธีจัดการที่ท่านทั้งหลายมักหยิบใช้กัน
แล้วมันไม่ได้ผล เป็นอาทิ....
1.ผู้บังคับบัญชาหัวหน้างาน คอยดุด่า ว่ากล่าว
ตักเตือน ติติง เฝ้าระวังอยู่ใกล้ชิดเท่าที่จะทำได้
ซึ่งจะได้ผลเฉพาะต่อหน้า แต่ว่าลับหลัง
ก็ยังเหมือนเดิม
2.ให้รางวัลจูงใจด้านบวก ล่อให้หันมาทำดีแทน
โดยกระตุ้นให้อยากได้รางวัลนั้น เพื่อเขาจะได้ละเลิก
พฤติกรรม 1 ใน 9 นั้นเสีย
ผลลัพธ์ คือ ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง
ขึ้นกับว่ารางวัลนั้นจูงใจพวกเขาจริงหรือเปล่า
ผลลัพธ์ คือ ได้ผลในระยะสั้น
พอรางวัลจูงใจให้ไปนานๆมันก็เสื่อมอำนาจลง
พวกเขาก็หันกลับมาเหลวไหลในแบบเดิม
เมื่อไหร่ที่นายเผลอ หรือมีรูรั่ว
จนต้องหารางวัลจูงใจกันใหม่
จนต้องหารางวัลมาจูงใจเพิ่มอีก
เป็นอย่างนี้เรื่อยมาโดยไม่รู้จักคำว่า "พอ"
วันๆผู้บริหารจึงมิพักต้องทำอะไร
เพราะใช้เวลาไปกับการหาสิ่งจูงใจมาให้พวกเขา
เพียงเพื่อระงับพฤตินิสัยไม่ดีพวกเขา
แล้วจูงพวกเขาให้หันมาทำดีในแบบที่ท่านต้องการ
3.ให้รางวัลจูงใจด้านลบ เป็นกฎกติกา
เพื่อกดดันปิดกั้นการแสดงออกหรือกระทำ
พฤติกรรมขยะ (Un-acceptable Behavior)ของเขา
ที่องค์กรหรือทีมงานไม่พึงประสงค์เอาไว้
โดยใช้ความกลัวจะเสียประโยชน์
โดยใช้ความกลัวจะถูกลงโทษ
เป็นเครื่องมือสำคัญ
ผลลัพธ์ คือ ได้ผลในระยะสั้น
พอนานวันเข้ารางวัลด้านลบก็เสื่อมคลาย
เพราะมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น
เพราะบางคนฉลาดหลีกเลี่ยง
เพื่อที่จะทำเหลวไหลตามนิสัยลบของตัวมากขึ้น
ยิ่งถ้าผู้บังคับบัญชาบ้างาน ไม่เอาคน
รูรั่วก็จะเกิดขึ้นเยอะ
กฎข้อใหม่ๆก็จะมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
เพิ่มจนพนักงานและคนออกกฎเองจำไม่ได้ว่า
กฎข้อไหนว่าอย่างไรบ้าง
สำคัญ คือ พนักงานส่วนใหญ่ที่ดีๆขวัญเสีย
เพราะวิตกหวั่นไหวกลัวจะทำผิดกฎระเบียบ
วันๆทำงานอยู่อย่างไม่มีความสุข
เพราะพนักงานที่ดีมักจะกลัวผิดกฎ
ขณะพนักงานที่เหลวไหล
มักหาทางหลบเลี่ยงกฎระเบียบเสียส่วนใหญ่
ดังนั้น
ถ้าผู้บริหารมักง่าย 
คอยใช้กฎเป็นเครื่องมือ
กำกับพฤตินิสัยเหลวไหลของพนักงานส่วนน้อย
องค์กรนั้นก็มักจะเสียพนักงานส่วนใหญ่
ที่เขามีนิสัยดีๆมีคุณภาพ
ในรูปแบบสมองไหล เทิร์นโอเว่อร์สูง...
จะลาออกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
4.นำพวกเขาไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรมทางวิชาการ
ให้ผู้รู้นำเอาองค์ความรู้มากมายที่ฝรั่งคิดมาขาย
เข้ามาทำเป็นโครงการฝึกอบรมอยู่เนืองๆ
ผลลัพธ์ คือ ได้ผลดีกับคนที่ดีๆอยู่แล้ว
แต่กับพนักงานเป้าหมายที่ไร้คุณภาพ
กลับไม่ค่อยได้ผล 
เมื่อพบว่าหลังฝึกอบรมแล้ว
แต่ละคนยังไม่เปลี่ยนแปลง....
ที่มันไม่ได้ผลกับบุคคลที่บกพร่องเหลวไหล
เพราะว่า "การสอนให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร"
ในรูปแบบการฝึกอบรมทั่วๆไปนั้น
มันเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤตินิสัยที่ไม่ดีของคนไม่ได้
เพราะมันเป็นปัญหาด้าน "จิตตปัญญา" ของมนุษย์
ที่พวกเขาบกพร่องมิใช่ไม่รู้ว่า
ที่เขาประพฤตินั้นไม่ดี ไม่สมควร ไม่ถูกต้อง
หรือเป็นพฤติกรรมที่ทีมหรือองค์กรไม่ต้องการ
แต่พวกเขาล้วนรู้อยู่เต็มอกว่าไม่สมควรทำ
ดังนั้น
เราจึงขอเรียนท่านนักพัฒนาคน
รวมทั้งผู้บริหารองค์กรว่า.....
อย่ามัวเน้นการใช้กฎ ใช้สิ่งจูงใจ 
และใช้การสอนด้วยวิธีฝึกอบรม
เพื่อมุ่งให้ความรู้เพราะคิดว่าเขาไม่รู้อยู่อีกเลย
ให้ท่านเปลี่ยนวิธีคิดที่จะแก้ไข
เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของพวกเขา
ด้วยหลักการด้านวิทยาศาสตร์พฤติกรรมดีกว่า
โดยให้มองว่าพวกเขา คือ 
ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
มิใช่ผู้ที่ "ไม่รู้"
เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการเป็นคนดี
ต้องการการยอมรับจากผู้อื่นและสังคม
การบกพร่องด้านพฤติกรรม
มันคือการบกพร่องทางจิตและปัญญา
ถ้าจะแก้ไขต้องแก้ที่
การพัฒนาจิตให้ใส พัฒนาที่ใจให้สวย
ช่วยให้เขามีจิตตปัญญา (จิตรู้สำนึก)ที่แข็งแกร่ง
สามารถระลึกรู้ในสิ่งอันควรไม่ควรได้ด้วยตนเอง
สามารถแสดงออกหรือกระทำแต่สิ่งดีๆ
ในแบบที่องค์กรหรือทีมต้องการได้ด้วยตนเอง
ทั้งสามารถลดละเลิกพฤติกรรมขยะใดๆได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องจูงใจให้เปลืองรางวัลพิเศษ 
โดยไม่ต้องให้บังคับขู่เข็ญ
ให้เสียอารมณ์รู้สึก
หรือเสียบรรยากาศในที่ทำงานของคนส่วนใหญ่
ท่านนักพัฒนาคนทั้งหลาย
ถ้าท่านเชื่อเหมือนที่ผมเชื่อว่า....
พลังอำนาจที่แท้จริงของทุกๆสรรพสิ่งนั้น
มันจะต้องขับเคลื่อนออกมา
จากข้างในของสรรพสิ่งนั้นเท่านั้น
ดังเช่น..... 
ความร้อนแรงและแสงสว่างของดวงอาทิตย์
ก็ล้วนสั่นสะเทือนออกมาจากข้างในแล้ว
พลังอำนาจด้านบวกด้านลบของมนุษย์
ก็จะต้องสั่นสะเทือนขับเคลื่อนออกมาจากข้างใน
ที่เราเรียกกลไกนี้ว่า "จิตตปัญญา" เช่นกัน
ถ้าเราจะช่วยให้คนที่บกพร่องเหลวไหล
หยุดพฤติกรรมขยะนั้นๆได้
เราก็จะต้องช่วยเข้าไปแก้ไขที่จิตสำนึก
ที่คอยขับเคลื่อนพฤติกรรมขยะของเขานั่น
เพราะพฤติกรรมขยะที่เขาแสดงออกมา
มันไม่เหมือนเสื้อผ้าอาภรณ์ที่เขาใส่
พอเห็นว่าไม่สวยงามแล้วบอกให้เขาถอดทิ้งง่ายๆ
มันจึงเป็นไปไม่ได้...
เขาต้องการความช่วยเหลือจากท่านมากกว่านั้น
ด้านพฤติกรรมที่ดีๆก็เช่นกัน
หากจะให้เขาแสดงพฤตินิสัยแบบไหน
ท่านต้องช่วยเติมเข้าไปที่จิตตปัญญาของเขาเท่านั้น
พวกเขาจะสั่นสะเทือนมัน ขับเคลื่อนมัน
ออกมาให้ท่านทั้งหลายได้ชื่นใจ
ด้วยตัวของเขาเอง
Smart People
คือ ผู้ที่มีความเป็นผู้นำในตนเอง
ในแบบที่ท่านต้องการ
มิใช่เกิดจากการถูกบังคับหรือจูงใจแน่นอน
ทั้งหมดที่ผมกล่าวมา
เป็นสิ่งที่ผมขออนุญาตตอบคำถามท่านทั้งหลายว่า
PSYCHO-SHOW ของ ปริญญา 
คือ อะไร
ทำอะไรได้บ้าง
เป็นประโยชน์ต่องานพัฒนาคนอย่างไร
ด้วยความเคารพ
อ.ปริญญา ตันสกุล

Tel.081-6681478, 081-9349789

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Q&A for HRD จากคุณ Patta Hinata

คำถามจากคุณ Patta Hinata

Q: เป็นนางพยาบาล (นางฟ้า) อย่างไรจึงไม่ป่วยเสียเอง

Answer: หลายๆคน มีอาชีพเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ที่ต้องนอนดึก และทำงานหนักอย่างต่อเนื่องในแบบที่เรียกว่า "ตรากตรำ" นั่นแหละ ปรากฏว่าพยาบาลส่วนใหญ่เท่าที่พบมาจากประสบการณ์เป็นวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตร OD และ ESB ให้กับโรงพยาบาลประจำอำเภอและโรงพยาบาลประจำจังหวัดเกือบทั่วประเทศของเรานั้น มักจะมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว ทั้งโรคร้ายและอาการป่วยไข้ที่น่ารำคาญ เหมือนอย่างที่มีคำถามเข้ามาในห้องเรียนนี้นั่นแหละ มันจึงทำให้หลายคนสงสัยว่าเหตุใดนางฟ้าส่วนใหญ่ ที่สร้างบุญกุศลด้วยการช่วยชีวิตคนไข้ไว้ตั้งมากมาย แล้วใยตนยังต้องมาเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายๆกับเขาเสียเองทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำไมทำดีแล้วยังต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคร้ายๆเหล่านี้ด้วย ทำไมโชคไม่หนุน บุญไม่ช่วยพวกเธอบ้าง
นักเรียนที่มีอาชีพพยาบาลทั้งหลาย....
บางคำถามของเธอดูเหมือนจะจริงอย่างที่ว่า "ทำไมทำความดีแล้วชีวิตยังจะมีปัญหาอยู่อีกเล่า...."นักเรียนที่ปัจจุบันมีอาชีพทำงานอยู่ในโรงพยาบาลทุกคน ไม่ว่าเธอจะเป็นนายแพทย์ เป็นนางพยาบาล เป็นเจ้าหน้าที่ทุกคนทุกระดับไปจนถึงแม่บ้าน คนงาน คนขับรถ คนสวน และยามนั้น พวกเธอจักต้องรู้เอาไว้ว่าพวกเธอเป็นคนพิเศษมีหน้าที่พิเศษแตกต่างจากมนุษย์ในกลุ่มอื่น โดยที่ดวงจิตวิญญาณตัวตนแก่นแท้ของพวกเธอนั้น ได้ขันอาสาลงมาเกิดเป็นมนุษย์จากดินแดนสวรรค์มายาในชั้นของเทพ เทวดา และพรหมด้วยกันทุกคน เราจึงเรียกขานมนุษย์ที่ทำหน้าที่อยู่ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วโลกว่า "นางฟ้า" ในขณะดำเนินการฝึกอบรมมาโดยตลอด นี่ก็ปาเข้าไปจะสิบปีเศษแล้ว เราก็ยังจะขอเรียกพวกเธอว่านางฟ้าอยู่ต่อไป สาเหตุที่พวกเธอได้รับอนุญาตตามที่ขันอาสา เพื่อให้จิตวิญญาณลงมาทำหน้าที่ช่วยชุบชูชีวิตเพื่อนมนุษย์ให้อยู่รอดปลอดภัยในบทบาทของแพทย์พยาบาลและผู้ช่วยทั้งหลายในสถานพยาบาลนั้น มีดังนี้
1.ให้ลงมาช่วยเหลือมารดาที่คลอดบุตร เพื่อให้ทั้งมารดาและบุตรมีชีวิตรอดปลอดภัย เพราะคนทั่วไปไม่สามารถจัดการดูแลความปลอดภัยด้วยตนเองได้
2.ให้ลงมาช่วยชีวิตคนเจ็บปวดป่วยไข้ ในรายที่ประมาทต่อสุขภาพ และประมาทต่อการมีชีวิตอยู่อย่างไร้โรคาพยาธิ รวมทั้งในรายที่เกิดภัยร้ายจากอุบัติเหตุ เป็นต้น ในที่นี้เราจะรวมเรียกว่า ช่วยเหลือคนป่วยทางร่างกาย โดยเน้นที่การป้องกัน และการบำบัดรักษา เพื่อให้รอดตาย หายเจ็บ หายปวด หายป่วย หายไข้ หายไปจากโรคนั้นๆอย่างสิ้นเชิง
3.ให้ลงมาช่วยเหลือคนที่มีอาการป่วยทางจิตใจและประสาท เฉพาะกรณีที่มิได้เกิดจากกรณีของกฎแห่งกรรม ที่จะต้องเรียนรู้และถูกทดสอบ ตามที่จิตวิญญาณของคนๆนั้นเรียกร้องต้องการ
บทบาทหน้าที่หลักทางจิตวิญญาณของแพทย์พยาบาลและบุคลากรในสถานพยาบาลต่างๆทั่วโลก ทั้ง 3 ประการดังกล่าวนี้ หากกล่าวโดยรวมแล้ว จะเน้นผลสัมฤทธิ์เฉพาะมนุษย์รายที่มีความเหมาะสมที่จะรอดตาย ที่จะหายป่วยได้เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าผู้ช่วยเหลือจักต้องมีเครื่องมือทางจิตวิญญาณที่แต่ละคนถือติดตัวมาด้วย และอำนาจทางโลกด้านกายภาพมากพอตัว จึงจะสามารถทำหน้าที่ของพวกเธอได้อย่างดีเยี่ยม
พลังอำนาจของพวกเธอประกอบด้วย
1.พลังอำนาจทางจิตวิญญาณ: เป็นพลังอำนาจที่จิตวิญญาณแก่นแท้ของเธอต่างถือติดตัวกันมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อใช้ทำหน้าที่อันสำคัญนี้ นั่นคือ "ความรักบริสุทธิ์" อันประกอบด้วย.......
1.1 ความเต็มใจและยินดีที่จะช่วยเหลือ
1.2 ความมีจิตใจเมตตาสงสารที่ได้เห็นความทุกข์ทรมานของเพื่อนมนุษย์ที่เจ็บปวดป่วยไข้ แล้วช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องการความช่วยเหลือ
1.3 ความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะฉุดช่วยผู้มีอาการป่วยทางร่างกายและจิตใจให้หายและมีชีวิตรอดปลอดภัย
1.4 ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ในการตรวจวิเคราะห์อาการป่วยไข้ต่างๆได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วย "จิตสัมผัส" ผ่านกายสัมผัส
1.5 ความสามารถในการถ่ายทอดพลังทางจิตวิญญาณให้แก่คนไข้ของพวกเธอ เพราะรายที่เจ็บปวดป่วยไข้ซึ่งต้องการความช่วยเหลือนั้น ผู้คนเหล่านี้จะมีความอ่อนแอในพลังทางจิตวิญาณ เสมือนแบ็ตเตอรี่ที่มีพลังไฟอ่อนๆที่ต้องการชาร์ทใหม่เพื่อให้พลังไฟเพิ่มขึ้นด้วย จึงจะช่วยให้การบำบัดรักษาเยียวยาได้ผลเร็วขึ้น
2.พลังอำนาจทางจิตใจ:
เป็นพลังอำนาจสำคัญที่ผู้ช่วยเหลือจักต้องสั่นสะเทือนผ่านจิตมนุษย์ของตนเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงพลังอำนาจทางจิตวิญญาณดังได้กล่าวเป็นสังเขปไว้ในพลังอำนาจประการที่ 1.นั้นได้ อันเปรียบได้กับ "กุญแจประตู" ที่พวกเธอจะใช้ไขเพื่อเปิดประตูสู่มิติของจิตวิญญาณของเธอเองโดยแท้
กุญแจสำคัญมีด้วยกัน 3 ดอก
1.ดอกที่หนึ่ง คือ ความเชื่อมั่นในตนเองว่า เธอสามารถช่วยเหลือคนไข้ของเธอได้อย่างแน่นอน ความเชื่อมั่นเป็นพลังอำนาจเบื้องต้นของจิตหยาบ ที่จะยกระดับแรงสั่นสะเทือนด้านบวกให้สูงขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเธอจะต้องกระทำผ่านคุณสมบัติต่างๆดังนี้
1.1 ความเชื่อมั่นในพลังทางจิตวิญญาณของตนเองว่า สามารถช่วยเหลือคนไข้ของเธอได้อย่างแน่นอนโดยไม่มีความลังเล สงสัยใดๆทั้งสิ้น
1.2 ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองที่มีอยู่ว่า มีมากพอที่จะช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นทุกข์จากความเจ็บป่วยทางกายและใจนั้นได้อย่างแน่นอน
1.3 ความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่ได้จากการฝึกฝนของตน ที่พร้อมจะนำมันออกมาใช้อย่างไม่ลังเลและถูกต้อง
2.ดอกที่สอง คือ ความมุ่งมั่นที่จะนำเอากุญแจดอกที่หนึ่งที่ตนมีอยู่ออกมาใช้ เพื่อจะช่วยเหลือคนไข้ของพวกเธอให้ประสบผลสำเร็จให้จงได้ เพื่อให้พวกเขาหายวันหายไว เท่าที่จะสามารถช่วยพวกเขาได้
ความมุ่งมั่นทางจิตใจของเธอ เมื่อสามารถสั่นสะเทือนมันขึ้นมาได้นั้น มันจะช่วยยกระดับแรงสั่นสะเทือนด้านบวกของจิตหยาบของเธอให้สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว ถ้าเธอสามารถเข้าถึงมันได้เธอจะพบว่า
2.1 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภาระใดๆเลย
2.2 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆเลย เช่น
<ไม่สนใจว่าช่วยพวกเขาแล้วตัวเธอจะได้รับประโยชน์ตอบแทนอะไรบ้าง
<ไม่คิดแบ่งแยกว่าคนไข้ของเธอรายนี้มีประวัติความเป็นมาว่า ยากดี มีจน เป็นคนดี หรือคนร้าย และเป็นญาติพี่น้องของเธอหรือไม่
<ไม่คิดถึงความลำบากเหนื่อยยากของตนเองในขณะให้การช่วยเหลือพวกเขาอยู่อย่างไม่ท้อแท้และไม่ท้อถอย แม้จะต้องพบเจออุปสรรคมากน้อยก็ตาม
2.3 เธอจะช่วยเหลือพวกเขาอย่างทุมเท กล่าวคือให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เต็มเวลา และเต็มใจสุดๆ เพียงเพื่อจะช่วยพวกเขาให้รอดตายหรือหายไปจากโรคภัยนั้นๆให้จงได้เท่านั้น โดยเน้นที่ผลสำเร็จในการช่วยเหลือพวกเขาเป็นสำคัญ ไม่เน้นที่ผลประโยชน์ตอบแทนที่เธอจะได้รับ
3.ดอกที่สาม คือ ความศรัทธาในวิชาชีพ (หน้าที่) ของเธอเองว่า การที่เธอสามารถช่วยชีวิตให้แก่ผู้คนทั้งหลายได้ หรือบรรเทาทุกข์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในโลกนี้เขาทำไม่ได้ มันคือความเป็นคนพิเศษของตนเองอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง
หากเธอเข้าถึงมันได้ ตัวชี้วัดความศรัทธาดังกล่าวนี้มันจะแสดงออกมาผ่านบทบาทของผู้ช่วยเหลือที่คนไข้ผู้ได้รับการช่วยเหลือจะสามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ
3.1 เธอจะมีความสุขในการทำหน้าที่ของเธอ ด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้มเสมอ โดยเธอจะมีเสน่ห์ น่ารัก ใจดี มีปากที่ไพเราะ ที่คนไข้ทุกรายรวมทั้งเพื่อนร่วมงานของเธอ เมื่อได้สัมผัสแล้วก็จะมีความสุขตามเธอไปด้วย เสมือนว่าเธอเป็นดั่ง "นางฟ้า" ของประดาคนไข้ทั้งหลายมิใช่ "ซาตาน" นั่นเอง
3.2 เธอจะสนุกสนานกับการทำหน้าที่ของเธอ ด้วยการแสดงออกผ่านความกระตือรือร้น ความขยันขันแข็ง และความคล่องแคล่วปราดเปรียว โดยจะมีแต่คำว่า "เดี๋ยวนี้" ไม่มีคำว่า "เดี๋ยวก่อน" มันจะทำให้บทบาทการช่วยเหลือคนไข้ของเธอและเพื่อนร่วมงาน เป็นดั่งความขยันของฝูงผึ้งงาน หรือมดปลวก ที่พวกมันจะทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่กินแรงเพื่อน ไม่เชือนแชในหน้าที่ ไม่ขี้เกียจซังกะตาย และไม่สนใจเวลา คนไข้มาตอนไหนเธอก็พร้อมให้ความช่วยเหลือเสมอ เป็นต้น
3.3 เธอจะรักตนเองเพราะเธอภาคภูมิใจในตนเองที่ได้รับโอกาสให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่พิเศษดังกล่าวนี้ เธอจึงเน้นที่การมี "จิตใส ใจสวย ร่ำรวยรอยยิ้ม" ภายใต้เสื้ออาภรณ์หรือยูนิฟอร์มที่ดีไซน์ไว้ให้เป็นสัญลักษณ์ของผู้มาจากฟ้าสูง ที่เป็นชุดปกติสีขาวและสีฟ้า โดยเธอจะสำรวมระวังตนมิให้เสื่อมเกียรติ เมื่อเธอจะแสดงออกหรือปฏิบัติต่อคนไข้ของเธอทั้งกาย วาจา และจิตใจ เธอจะต้องสำรวมมันไว้ให้ดูงามเสมอ
3.4 เธอจะรักคนไข้ทุกคนโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะเลย เพราะเธอมีศรัทธาต่อพวกเขา ในฐานะที่พวกเขาคือผู้ที่มาช่วยให้เธอสามารถทำหน้าที่นางฟ้าที่ขันอาสาลงมากระทำได้นั่นเอง
เพราะถ้าสถานพยาบาลของเธอไม่มีผู้ป่วยหรือคนไข้เข้ามาพึ่งพา เธอก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ของเธอได้ และแน่นอนว่าพวกเขาต้องศรัทธาพวกเธอด้วย มิเช่นนั้นแล้วพวกเขาย่อมไม่มาพึ่งพาความช่วยเหลือจากพวกเธอแน่นอน
การแสดงออกว่าเธอรักคนไข้ของเธอ คงไม่ต่างไปจากเธอรักสิ่งของหรือว่ารักใครๆในชีวิตเธอนั่นแหละ เช่น
<แสดงความห่วงใย
<แสดงความมีน้ำใจเอื้ออาทร
<เสียสละประโยชน์สุขส่วนตน เพื่อพวกเขาได้เสมอ
<อดทน อดกลั้น และให้อภัย ในความไม่น่ารักของพวกเขาที่กระทำต่อตัวเธอได้เสมอโดยไม่ถือสา ไม่มีอัตตา เพราะเธอเห็นใจในความทุกข์ของพวกเขาที่อาจทำให้เขาสูญเสียสมดุลทางจิตใจ จนควบคุมเอาไว้ไม่ได้ในบางเวลา พวกเขาเหล่านั้นจึงมีโอกาสกระทำผิดบาปต่อตัวเธอได้บ้างโดยขาดยั้งคิดหรือขาดสติ
3.5 เธอจะรักสถานพยาบาลอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เธอปฏิบัติงานอยู่นี้ยิ่งกว่า "บ้านหลังที่สอง" ของเธอเอง เพราะมันเป็นสถานที่เดียวในชีวิตเธอหากไม่นับครอบครัวของตัวเอง ที่เธอสามารถแสดงความศักดิ์สิทธิ์ในตนเองออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นสถานที่เดียวที่เธอแสดงบทบาทของนางฟ้าได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นสถานที่เดียวที่เป็นยิ่งกว่าวัดที่เธอไปบำเพ็ญกุศลด้วยการให้ได้ทุกวัน โดยมิพักต้องรอวันสำคัญทางศาสนาแต่อย่างใด
ดังนั้น ตื่นนอนตอนเช้าขึ้นมา เธอก็จะไม่บิดขี้เกียจหลายๆตลบ ก่อนที่จะจบด้วยการงัดแงะตนเองขึ้นมาจากเตียงนอนอย่างลำบาก พร้อมเอ่ยปากอย่างคุ้นชินด้วยคำครวญครางว่า
"เฮ้อ....กูต้องไปทำเวรอีกแล้วววว...."
เธอจะไม่มีคำเหล่านี้อยู่ในพจนานุกรมชีวิตเธอเลย คือ ไปทำเวร ขึ้นเวร ลงเวร แลกเวร ซื้อเวร ขายเวร และเงินเวร.... เพราะถ้าขืนใส่รหัสเหล่านี้ไว้ภายในจิตใจเธอทุกวันเวลาแล้ว มันจะทำให้บทบาทนางฟ้าที่น่ารักของพวกเธอหายไป จะเปลี่ยนเป็น "นางมาร หรือ ซาตาน" ของพวกเขาแทน และแน่นอนว่าพวกเธอยังจะได้รับนามใหม่จากพวกเขาอย่างไร้เกียรติลับหลังว่า "อีเวร" กับ "ไอ้เวร" เสียอีกด้วย
3.พลังอำนาจทางกายภาพ:
หมายถึง อำนาจที่จะนำมาใช้ช่วยเหลือคนไข้ของเธอจากควายทั้งสิ้น 7 ตัว ดังต่อไปนี้
3.1 ความรอบรู้ในวิชาชีพพิเศษนี้
3.2 ความสามารถในการนำความรอบรู้มาใช้ช่วยเหลือคนไข้
3.3 ความเชี่ยวชาญหรือทักษะในการแสดงความสามารถนั้น
3.4 ความเชื่อมั่นในควายสามตัวแรกของตนเองดังกล่าวแล้ว
3.5 ความเต็มใจให้การช่วยเหลืออย่างเต็มพลัง ด้วยจิตสำนึกแห่งคุณภาพอย่างแท้จริง
3.6 ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา ในการวิเคราะห์โรคภัยนั้นและการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการช่วยเหลือคนไข้นั้นได้อย่างถูกต้อง
3.7 ความรักอันบริสุทธิ์ คือ รักเพื่อให้ มิใช่รักเพื่อเอา หรือรักแบบ Love to Love นั่นเอง

คราวนี้กับคำถามของเธอ ที่ถามเราว่าเหตุใดเพื่อนๆเธอที่มีอาชีพเดียวกันนี้ เสมือนดั่งนางฟ้า มีพลังอำนาจพิเศษแห่งเมตตาที่มาทำหน้าที่ฉุดช่วยชีวิตคนอื่นๆ แล้วใยตนเองจะต้องสะอื้นกับการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแล้วตายเสียเองกันด้วยเล่า
คำตอบนี้ไม่ยากเลย...หากเธออ่านที่เราสื่อสอนมาตั้งแต่บรรทัดแรก เธอจะพบว่า การทำดีแล้วไม่ได้ดีตามกฎโลกของพวกเธอน่ะ มันเกิดจากความบกพร่องเหลวไหลของพวกเธอเองไงล่ะ เมื่อบกพร่องแล้วเธอก็ไม่สามารถเข้าถึงพลังอำนาจทั้งสามได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะพลังอำนาจทางจิตวิญญาณนั้น เธอจะเข้าถึงได้มันจะต้องกระทำผ่านกุญแจทั้งสามดอกเท่านั้น

1.ถ้าในชีวิตประจำวัน เธอยังแสดงบทบาทนางฟ้าของคนไข้ของเธอยังไม่ได้ เธอยังถูกตีตราว่า "อีเวร-ไอ้เวร" ของพวกเขาอยู่
2.ถ้าในชั่วโมงการทำงาน เธอยังทำงานเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทน แทนการทำงานโดยมุ่งผลสำเร็จในการช่วยให้คนไข้หายจากโรค ช่วยให้พ้นทุกข์โดยมีแต่สุขสมหวังอยู่
3.ถ้าเธอทำงานของเธอด้วยความเบื่อหน่าย ทำไปวันๆ ทำไปตามอารมณ์ ฝืนใจทำ หรือทำไปเหมือนคนทำงานเลี้ยงชีพรายวัน (จับกัง) ซึ่งไม่มีความศรัทธาใดๆให้ตนเอง สถานที่ทำงาน วิชาชีพพิเศษ เพื่อนนางฟ้าที่ร่วมงานกัน และประดาคนไข้ที่ดาหน้ากันมาให้เธอช่วยเหลือกันแน่นโรงพยาบาลทั้งวันคืน
โดยเมื่อเธอได้ยินเสียงหวอมา...ก็ยังจะอุทานว่า "มาอีกแล้ววว...." อันเป็นความคิดแบบนางมาร ซึ่งมันรังแต่จะทำให้เกิดอาการเซ็งจนเข้าถึงพลังทางจิตวิญญาณของตนเองไม่ได้แทนที่จะมีสำนึกว่า "ดีจังเลย...จะได้ช่วยชีวิตคนอีกรายหนึ่งแล้ววว" อันเป็นความคิดแบบนางฟ้าที่จะตื่นเต้นดีใจเพราะความมีจิตใจเมตตา ซึ่งมันจะยกระดับสภาวะจิตเธอจนเข้าถึงซึ่งการเป็นหนึ่งเดียวกับจิตวิญญาณของเธอเองได้แบบฉับพลัน จนเธอพร้อมจะช่วยเหลือทันทีที่คนไข้มานอนอยู่เบื้องหน้าด้วยซ้ำไป โดยเมื่อเธอจะลุกจากเตียง จะออกจากบ้าน ขณะเดินทางไปทำงาน และขณะอยู่ในสถานที่ทำงานช่วยชีวิตคนนั้น เธอยังมีสำนึกเพียงแค่ว่า "ทำเวร" ซึ่งจิตวิญญาณของเธอมิได้เห็นด้วยเลย ตลอดวันทำงานของทุกๆวันเธอจึงพกพาความเซ็งและความอืดอาดติดตัวไว้ตลอดเวลา โดยเมื่อเธออยู่ในที่ทำงาน เธอยังมีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอยู่เนืองๆ และเธอยังมีปัญหากับคนไข้เสียเองเพราะความประมาท ขาดสติ ขาดความรักความเมตตา และการมีนิสัยที่บกพร่องส่วนตัวของเธออยู่

ทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ มันจะทำให้เธอไม่สามารถทำงานด้วยจิตวิญญาณของเธอเองได้ เมื่อเข้าถึงไม่ได้ พลังอำนาจที่จะช่วยให้คนไข้หายไปจากโรคมันจึงค่อนข้างจะไร้พลัง การบำบัดรักษาช่วยเหลือจึงได้ผลช้า หรือไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

นอกจากนั้น พลังอำนาจทางวิญญาณของเธอเอง ที่เธอได้ถือติดตัวกันมาทุกคนเพื่อการคุ้มครองป้องกันตนเองนั้น ก็ไม่สามารถป้องปกตัวเธอเองได้เพราะมันนำออกมาใช้ไม่ได้เหมือนกัน เช่น ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคร้ายที่คนไข้พกพามาหาเธอรายวัน และความเสื่อมของกายหยาบอันเกิดจากการใช้งานเกินพลังทางกายจะทานไหว เพราะเธอเข้าถึงพลังทางจิตวิญญาณไม่ได้....เป็นต้น
แพทย์พยาบาลและผู้ทำหน้าที่ช่วยชีวิตคนอื่นๆ หากอยากปลอดภัยในการรักษาดูแลตนเอง ต้องปฏิบัติตนดังนี้
1.เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและมุมมองในอาชีพของตน เพื่อเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกของตนเสียใหม่ให้ถูกต้องตามที่กล่าวมา
2.เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อคนไข้ผู้ที่เธอจักต้องให้ความช่วยเหลือเสียโดยพลัน เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติต่อพวกเขาให้ถูกต้องคล้องจองกับหน้าที่ทางจิตวิญญาณ ที่พวกเธอต้องเป็นดั่งนางฟ้ามิใช่พญามารของพวกเขาเท่านั้น พวกเธอจะได้มีส่วนช่วยให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือ "พระยาบาล" มันจะได้ไม่กลายเป็น "โรงพระยามาร" หรือ "พระยามาร" เหมือนปัจจุบันอีกตลอดไป
3.จงเรียนรู้ที่จะทำงานด้วย "แรงบันดาลใจ" แทน "แรงจูงใจในผลประโยชน์ตอบแทนจากการทำงาน" เสียโดยพลัน

หากเธอทำได้ พลังอำนาจทางจิตวิญญาณของเธอจะช่วยปกป้องคุ้มครองตัวเธอเองให้ปลอดภัยจากโรคร้ายและอวัยวะร่างกายที่บกพร่อง เหมือนเธอใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกหรือสวมถุงมือล่วงหน้า ก่อนจะทำหน้าที่สัมผัสผู้ป่วย เพื่ออะไร...ป้องกันตนเองไว้ใช่หรือไม่
นี่เธอเอาเครื่องป้องกันตนเองมาจากฟ้า ถือติดตัวมาแต่ไม่ได้ใช้ เพราะเธอยังใช้จิตมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา เพราะไร้สติกันอยู่มาก เมื่อเข้าถึงไม่ได้มันก็ช่วยอะไรตัวเองไม่ได้ ช่วยคนไข้ก็ไม่ค่อยจะได้ แม้ช่วยได้ก็เหนื่อยหนักมากกว่าที่ควรจะเป็น....
โรงพยาบาลที่เชิญเราไปเป็นวิทยากรสอนพฤติกรรมผ่านจิตสำนึกของทุกคนในโรงพยาบาล ทั่วประเทศ เรามีแนวทางในการสอนด้วยกระบวนการไซโคโชว์ เพื่อกระตุ้นพลังทางจิตวิญญาณ ตามหลักการที่เราตอบคำถามของเธอที่ถามไว้นี้ทั้งสิ้น....


ไม่จำเพาะผู้มีหน้าที่ทางจิตวิญญาณด้านการแพทย์และพยาบาลหรอก แม้เธอจะมีหน้าที่อื่นอาชีพอื่นๆหรือจักทำสิ่งใดในชีวิตให้มันยิ่งใหญ่และสนุกแล้ว จงเลือกทำด้วยจิตวิญญาณแทนการทำด้วยความโลภสิ เธอจะพบว่า งานของเธอจะได้ผลและทุกคนรวมทั้งเธอเองจะมีความสุขมากขึ้นอีกหลายเท่า

Q&A for HRD จากคุณ Phatsanan Tomongkol

คำถามจากคุณ Phatsanan Tomongkol
Q: เราควรมองโลกในด้านบวกหรือมองโลกตามความเป็นจริงดีคะ" รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายคะ ขอบคุณคะ

Answer:
ตัวอย่างการมองโลกด้านบวก มีดังนี้ :
การคิดดีต่อผู้อื่น
การไม่มองผู้อื่นในแง่ร้าย
การไม่คอยแต่จะจ้องจับผิดผู้อื่น เพราะความหวาดระแวง
การไม่คาดหมายใดๆต่อตัวเองไปในทางต่ำ เช่น ซวยแน่ๆ/แย่แล้วเรา ฯลฯ

ถ้าเรามองคนอื่นๆในลักษณะดังตัวอย่างทั้ง 4 แบบนั้นแล้วมันจะยังผลให้จิตใจเรามีความสุขสงบ หรือมีจิตใจที่ดีงามจิตสงบหรือจิตที่ดีงาม จะสามารถขับเคลื่อนพฤติกรรมทางอารมณ์รู้สึกและการนึกคิดของจิตกับสมองที่เป็นด้านดีหรืออด้านบวกต่อผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย

มนุษย์มีหน้าที่มองหาความจริงเท่านั้นไม่ว่าความจริงที่เราเห็น มันจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีก็ตาม หากพบว่าที่เราเห็นมันเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่ดี ไม่เหมาะไม่ควร หน้าที่ของมนุษย์ก็คือ เราจะต้องใช้ปัญญาคิดบวกหรือคิดดีต่อทั้งคนทำไม่ดีกับเราและคิดบวกต่อพฤติกรรมไม่ดีที่เขาทำกับเราให้จงได้ การคิดบวกมันจึงยากอยู่ที่ตรงนี้เอง

Q&A for HRD จากคุณสมายย์ลี่

คำถามจากคุณสมายย์ลี่
Q: คำพูดของผู้ที่เราสนทนาด้วยนั้น ทุกคำพูดที่ออกมาแสดงถึงว่าคนๆนั้นเป็นอย่างไร ใช่หรือเปล่าคะ หลายครั้งที่เขาบอกว่าเขาคิดว่าเขาคิดเป็น คิดได้ แต่พอเขาพูดออกมามันกลับไม่ได้เป็นอย่างนั้น เหมือนกับว่าที่เค้าบอกว่าเขาเข้าใจ เขาคิดได้ แต่เราผู้เป็นผู้ฟังกลับได้รู้สึกว่าสิ่งที่เขาผู้นั้นบอกว่าเข้าใจนั้น ยังไม่ถูกต้องนัก ดังนั้นการที่เราพูดอะไรออกไป แต่ละคำพูดที่พูดออกมาจะแสดงได้ว่าเรามีมหาสติหรือไม่ ถูกต้องหรือเปล่าคะ

Answer: คำถามที่หนึ่ง คำพูดของคนที่เราสนทนาด้วยน้ัน ทุกคำพูดของเขาแสดงถึงว่าคนๆนั้นเป็นอย่างไร ใช่หรือเปล่าคะ
คำถามที่สอง: การที่เราพูดอะไรออกไป แต่ละคำพูดนั้นมันจะแสดงได้ว่าเรามีมหาสติหรือไม่คะ?
ทุกคำพูดของแต่ละคน เมื่อเขาสนทนากับเรา มันจะสามารถบ่งชี้อะไรๆ เกี่ยวกับตัวเขาหลายประการ คือ

1.เขาคิดอย่างไร พอเรารู้ว่าเขาคิดอย่างไร เราก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าเขามีนิสัย-สันดานในการคิดและในการมองโลกแบบไหนอย่างไรบ้าง

2.เขามีอารมณ์รู้สึกอย่างไร ขณะที่เขากำลังพูดกับเรา นอกจากแก่นสารสาระ (Content) ในเรื่องที่พูดแล้วยังมีอีกสองอย่าง คือ "น้ำคำและน้ำเสียง" เมื่อเราได้ยินน้ำเสียง-ได้ฟังน้ำคำจากที่เขาพูดกับเราแล้ว มันก็จะทำให้เราสามารถรู้ได้ทันทีว่า ขณะนั้นเขากำลังเกิดอารมณ์รู้สึกต่อเรื่องที่พูด และหรือต่อตัวเราที่เป็นคู่ สนทนาของเขาอย่างไรบ้าง เช่น ถ้าพูดไม่เพราะ พูดไม่มีหางเสียงคือสั้นๆห้วนๆ พูดแบบเหมือนไม่เต็มใจพูด อย่างนี้ก็แสดงได้ว่าเขาเป็นลบต่อเราหรือต่อเรื่องที่เขากำลังพูด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างแน่นอน เป็นต้น

3.ต้องสังเกตกิริยาอาการภาษาท่าทางของเขา ขณะกำลังพูดกับเราด้วยว่า มันไปได้กันได้กับคำพูดของเขาในขณะนั้นหรือเปล่าคำถามที่สอง: มนุษย์ที่ปากพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่พอเอาเข้าจริงกลับไม่เป็นเช่นที่เขาพูดนั้นมีสามแบบ คือ 1.ขาดการรู้สติ คือ พูดปากพล่อยไปตามสันดาน ไม่ก็พูดไปตามอารมณ์รู้สึกในขณะนั้นๆ 2.ขาดการใช้สติ คือ ไม่ได้คิดก่อนพูด หรือพูดเรื่อยเปื่อย 3.หลงตัวเองว่าตัวเองรู้แล้ว ดีแล้ว เก่งแล้ว ทั้งๆที่ไม่ใช่ หรือทำเป็นอวดเก่ง อวดดีเพื่ออวดเรา เบ่งทับเรา หรือ สร้างปมเด่นให้ตัวเขาเองด้วยการกลบปมด้อยไว้

Q: ถ้าการที่เขาพูดออกมาแต่ไม่สามารถเรียบเรียง หรือเลือกคำที่จะใช้ให้ถูกจังหวะและเวลา จะสรุปได้หรือไม่ว่าเขาผู้นั้นยังไม่เข้าใจในเรื่องที่เขากำลังพูดอย่างแท้จริงคะ

Answer:  จากคำถามของเธอนั้น ขอทำความเข้าใจกันก่อนดังนี้
1.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ แล้วไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดให้เธอฟังรู้เรื่อง-เข้าใจได้นั่นเป็นปัญหาหนึ่ง 

2.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ แล้วเลือกใช้คำพูดไม่เหมาะสม นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง 

3.การที่ใครเขากล่าวอะไรกับเธอ ไม่ถูกจังหวะเวลา นี่ก็เป็นอีกประเด็นปัญหาหนึ่งการที่มนุษย์กล่าวอะไรหรือสิ่งใดกับใครก็ตาม ถ้าเขาไม่สามารถเรียบเรียงเรื่องราวให้เราฟังรู้เรื่อง และเข้าใจได้ มักมีสาเหตุดังนี้ คือ
3.1.ขาดความสามารถด้านการพูด เขาจะต้องฝึกฝนให้เกิดทักษะเสีย
3.2.ขณะกำลังพูด อาจตื่นเต้น ประหม่า กำลังกังวล หรือไม่มีสติ
3.3.ไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้งในสิ่งที่ตนกำลังพูดนั้น
3.4.ขี้โม้-ขี้คุย-ไม่เน้นสาระที่ตัวพูดการที่มนุษย์สื่อสารกับใครแล้วเลือกใช้คำพูดไม่เหมาะสมอาจมีสาเหตุดังนี้
1.ไม่รู้กาละเทศะ
2.ปากพล่อย
3.ขาดสติ
4.ไม่เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษาไทย
5.ไม่ให้เกียรติผู้ที่ตนสนทนาด้วยการที่มนุษย์หยิบเอาเรื่องใดสิ่งใดขึ้นมาพูดกับผู้อื่นโดยไม่ถูกจังหวะเวลานั้น มีสาเหตุดังนี้

5.1.เป็นคนขาดสติ
5.2.มีนิสัยใจคอคับแคบ ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง
5.3.ไม่แคร์ความรู้สึกนึกคิดของคนอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Q&A for HRD จากคุณนุ้ย น้อง

คำถามจากคุณนุ้ย น้อง

Q : มีเรื่องเรียนปรึกษาว่าเมื่อเราเป็นหัวหน้าและเป็นกันเองกับลูกน้องจนทำให้บางครั้งลูกน้องไม่เกรงใจ หนูจึงมีการตอบโต้ลูกน้องไปบ้าง คือให้ลูกน้องได้มีความยำเกรงบ้าง แต่ผลกลายกลับเป็นการสร้างเงื่อนไขลบหนักขึ้น จนไม่เป็นหนึ่งเดียว เพราะเค้าแปลเจตนาเราผิดเพี้ยนไปตามธรรมดาของคนเป็นหัวหน้าและลูกน้อง เพราะลูกน้องส่วนใหญ่จะไม่ชอบหัวหน้า หนูจะใช้หลักธรรมะข้อใดในการบริหารลูกน้องให้เค้ายำเกรงเราในขณะเดียวกันก็รักเรา รักให้ได้ ให้ให้เป็น ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นและใช้มหาสติในการดำเนินชีวิตซึ่งการไม่ตอบโต้ ไม่ต่อต้าน อาจทำให้เค้าไม่ยำเกรง คือไม่มีความเกรงใจเราอยากได้อะไรต้องได้ค่ะ กราบขอความเมตตาชี้แนะด้วยค่ะ

Answer:
1.ส่วนปัญหาของเธอ คือ สนิทกับลูกน้องมากแล้วไม่เกรงใจ จึงมีการ "ตอบโต้" ลูกน้องกลับไปบ้าง
จนกลายเป็นเงื่อนไขด้านลบหนักขึ้น เพราะเขาแปลเจตนาเธอผิดเพี้ยน เธอควรทำอย่างไร ใช้ธรรมะข้อไหน?
คำตอบก็คือ....
1.1 การจะทำให้ลูกน้องเกรงใจหรือเคารพยำเกรง ด้วยการ "ตอบโต้"
เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องอยู่แล้ว เพราะมันเป็นการสร้างเงื่อนไขโดยเจตนา
จะข่มเขาให้ยำเกรงนั่นเอง หากเธอทำแบบนั้นเท่ากับว่าก่อกรรมและเกี่ยวกรรมกับพวกเขาไปแล้ว
1.2 เธอไม่ลองคิดใหม่บ้างเหรอว่า มีวิธีอื่นมั้ยที่จะทำให้ลูกน้องเกรงใจ
จนไม่กล้าทำผิดกฎระเบียบ ไม่กล้าทำผิดกติกา ไม่กล้าทำผิดคำสั่ง ไม่กล้าผิดสัจจะ
1.3 ไม่มีหลักธรรมะอะไรที่จะช่วยเธอให้ปฏิบัติตามนั้นแล้วทำให้ลูกน้อง
เกรงอกเกรงใจเธออย่างชงัดหรอกนะ เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านมีไว้สอนพระภิกษุ
ไม่ได้บัญญัติไว้สอนฆราวาสอย่างพวกท่านหรอก

2.ถ้าลูกน้องเหลวไหลเพราะไม่เกรงใจเธอจริงๆ (อย่าหลงผิดนะ เพราะการที่ลูกน้องทำตัวเหลวไหลนั้น
อาจบางทีเกิดจากเหตุผลอื่นด้วยมากมาย เธอต้องหาสาเหตุแท้จริงด้วย อย่ามโนเอาง่ายๆเด็ดขาด)
เธออาจใช้วิธี "ทำที่ตัวเธอเองสิ" อย่าไปคิด "ทำที่ลูกน้อง...."
2.1 ดีกับคนที่เหลวไหลให้มากกว่าเดิม เผื่อที่ผ่านมาเธออาจทำดีกับเขาน้อยไป
2.2 ใกล้ชิดกับลูกน้องที่เหลวไหลให้มากขึ้น เผื่อเขาจะได้ไม่มีโอกาสเหลวไหล
2.3 วางตัวเสียใหม่ ให้จริงจังในงาน จริงใจกับพวกเขา
2.4 ถ้าจะตำหนิลูกน้อง อย่าคิดใช้วิธีตอบโต้ด้วยอารมณ์ เอาปริญญาโมเดล 6 ถูกมาใช้สิ

3.เธอต้องจำไว้ว่า ที่อ้างลูกน้องส่วนใหญ่จะไม่ชอบหัวหน้านั้น
เธออย่าเพิ่งเชื่อผิดๆนะ ลูกน้องส่วนใหญ่ต่างหากที่รักหัวหน้า
ส่วนน้อยนี่แหละที่ไม่ค่อยชอบ เพราะหัวหน้าเป็นผู้นำในดวงใจ
ของลูกน้องไม่ได้...
เราจัดฝึกอบรมหลักสูตรนี้ให้กับองค์กรต่างๆมาโดยตลอด


พบว่าส่วนใหญ่หัวหน้าบกพร่องเองเสียมากกว่า